ธรรมบท คือ ทางแห่งความดี
พระพุทธภาษิต
มโนปุพพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติวา
ตโต นํ ทุกฺขมนฺเวติ จกฺกํ ว วหโต ปทํ
คำแปล
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงสำคัญที่ใจ ใจประเสริฐสุด สำเร็จมาจากใจ
ถ้าใจไม่ดี การทำการพูด ก็พลอยไม่ดีไปด้วย เพราะความไม่ดีนั้นเป็นเหตุ
ความทุกข์ก็ติดตามมาเหมือนล้อเกวียนหมุนตามรอยเท้าโค
อธิบายความ พระพุทธภาษิตเริ่มต้นนี้ สมเป็นทางแห่งความดีแท้
เพราะความดีทั้งหลายต้องเริ่มต้นที่ใจ คนจะทำบุญหรือทำบาป
จะพูดชั่วหรือพูดดี ย่อมไปจากใจก่อน ใจเป็นผู้สร้าง
จินตนาการ
เป็นผู้เดียวที่มีอำนาจเด็ดขาดในการให้สุขหรือทุกข์แก่บุคคล
คนที่มีความสุข เพราะใจเขาเป็นสุข
คนที่มีความทุกข์ก็เหมือนกันเพราะใจเขาเป็นทุกข์
ใจจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในทุกข์และสุข
บุคคลที่เรายอมรับว่า เป็นคนดีนั้น เพราะเขาได้ทำดีและพูดดี
ทั้งนี้ ย่อมมีการคิดดีเป็นมูลเหตุมาก่อน กล่าวอีกนัยหนึ่ง
เขาตั้งใจจะเป็นคนดีแล้วดำเนินตามความตั้งใจนั้น
ใจของมนุษย์เป็นสิ่งประเสริฐที่สุดมีค่าที่สุดเท่าที่มนุษย์มีอยู่
เพราะเป็นสิ่งชี้โชคชะตาของมนุษย์ บุคคลจะเป็นอย่างไร
ก็แล้วแต่ใจของเขาเป็นนี่มองตามทัศนะแห่งปรัชญาเมธี ตัวอย่าง พระสิทธัตถะ
ที่ต่อมาได้เป็นพระพุทธเจ้าก็เพราะพระทัยของพระองค์เป็นก่อน
เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า บุคคล จะเป็นอย่างไร
ก็เพราะ ใจ เขาไปเป็นอย่างนั้น
ก่อนความจริงข้อนี้เป็นที่ยอมรับ ใฝ่ฝันอยากเป็นนั่นเป็นนี่
เมื่อมีความต้องการ และความต้องการนั้นรุนแรงขึ้น
ก็เป็นเครื่องกระตุ้นให้มีความพยายาม ความพยายามก่อให้เกิดความสำเร็จ
ความเป็นคนดีก็มาจากความตั้งใจที่จะเป็นคนดี
ปราศจากความตั้งใจเสียแล้วหาสำเร็จไม่ คนธรรมดาได้กลายเป็นพระอรหันต์
เป็นที่เคารพบูชาของคนทั้งหลาย ก็เพราะใจของท่านปราศจากกิเลส
คนหน้าตาสวยงาม แต่กลับเป็นที่รังเกียจของคนทั้งหลาย ก็เพราะใจสกปรก
แล้วไปทำและพูดสกปรกเข้า
โดยนัยนี้จะเห็นว่า ใจมีความสำคัญเพียงใด คนที่โชคดีที่สุด
คือคนที่สามารถทำใจให้เป็นสุขได้ทุกวัน
และความสงบอัน
แท้จริงแห่งจิตใจนั้น มาจากการยอมรับ
สิ่งอันร้ายแรงที่สุดซึ่งเกิดขึ้นในชีวิตของเรา
โปรดจำไว้ว่า ถ้าใจร้าย ความร้ายก็ตามมา ถ้าใจดี ความดีก็ตามมา
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงสำคัญที่ใจ ใจประเสริฐสุด สำเร็จมาจากใจ
ถ้าใจไม่ดี การทำ การพูด ก็พลอยไม่ดีไปด้วย เพราะความไม่ดีนั้นเป็นเหตุ
ความทุกข์ ก็ติดตามมา เหมือนล้อเกวียนหมุนตามรอยเท้าโค
>>> Suchart Good >>
> อมรา เส้นทางสู่ธรรม
โดย อาจารย์วศิน อินทสระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น