วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลากัด

SASM_000000006_2P




ประเภทของปลากัด โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ยนต์ มุสิก ปลากัดที่พบตามแหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไทยมีอยู่ ๓ ชนิด แต่มีเพียงชนิดเดียวที่นิยมเลี้ยงกันมากในประเทศไทย และแพร่หลายไปทั่วโลก คือ ปลากัดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens ซึ่งพบทั่วไปในทุกภาคของประเทศ ปลากัดอีก ๒ ชนิดที่นิยมนำมากัดกัน แต่ไม่นิยมนำมาเลี้ยงหรือปรับปรุงพันธุ์นั้น ชนิดหนึ่งเป็นปลาพื้นเมืองภาคใต้ (Betta imbellis) และอีกชนิดหนึ่งเป็นปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน (Betta smaragdina) ในระยะหลังได้มี

การนำปลาป่าพื้นเมืองภาคใต้มาผสมข้ามสายพันธุ์บ้าง เพื่อให้ได้ลูกผสมที่กัดเก่ง หรือให้ได้สีและลักษณะที่สวยงาม อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงปลากัด โดยทั่วไปจะหมายถึง Betta splendens ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอยู่ทั่วโลก โดยที่ปลากัดชนิดนี้มีลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถสร้างลักษณะสีและครีบได้มากมายแฝงอยู่ จึงทำให้มีการพัฒนาปลากัดสายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ และมีการตั้งชื่อปลาที่พัฒนาได้ใหม่นั้นด้วย ปลากัดแบ่งออกเป็น ปลาป่าหรือปลาลูกทุ่ง ปลาสังกะสี และปลาลูกหม้อ ปลากัดจีน ปลา

กัดหางสามเหลี่ยม หรือปลากัดเดลตา ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก หรือปลากัดฮาล์ฟมูนเดลตา ปลากัดหางมงกุฎ หรือปลากัดคราวน์เทล ปลากัดประเภทอื่น ๆ ปลากัดจีน เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาวรุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีนเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาลูกหม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความยาวของครีบหางส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือมากกว่าความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน และมีการพัฒนาให้ได้สีใหม่ๆ และสวยงาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวไทย ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จมาช้านาน ก่อนที่ปลากัดจะ


ถูกนำไปเลี้ยงในต่างประเทศ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ว่า การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ปลากัดชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแพร่หลายไปทั่วโลก และได้มีการนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ ๆ ออกมาอีกมากมาย


ไม่มีความคิดเห็น: